เมนู

เป็นอารมณ์ เป็นอันตรัสไว้ด้วยบทแรก, ความสงัดด้วยอำนาจการข่มโทสะ
และโมหะ อันมีชนิดแห่งอาฆาตวัตถุเป็นต้นเป็นอารมณ์ เป็นอันตรัสไว้ด้วย
บทที่ 2.
อีกอย่างหนึ่ง บรรดาธรรมทั้งหลาย มีโอฆะเป็นต้น ความสงัดด้วย
อำนาจการข่มสังโยชน์ คือกามโอฆะ กามโยคะ กามาสวะ กามุปาทาน
อภิชฌากายคัณฐะ และกามราคะไว้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยบท
แรก. ความสงัดด้วยอำนาจการข่มสังโยชน์ คือ โอฆะ โยคะ อาสวะ อุปาทาน
และคัณฐะที่เหลือไว้ ย่อมเป็นอันพระองค์ตรัส ด้วยบทที่ 2. อนึ่ง ความ
สงัดด้วยอำนาจการข่มตัณหา และกิเลสที่สัมปยุตด้วยตัณหานั้นไว้ เป็นอัน
พระองค์ตรัสด้วยบทแรก, ความสงัดด้วยอำนาจการข่มอวิชชา และกิเลสที่
สัมปยุตด้วยอวิชชานั้นไว้ เป็นอันพระองค์ตรัส ด้วยบทที่ 2.
อีกอย่างหนึ่ง ความสงัดด้วยอำนาจการข่มจิตตุปบาท 8 ดวง ที่
สัมปยุตด้วยโลภะไว้ พึงทราบว่า เป็นอันพระองค์ตรัสด้วยบทแรก. ความสงัด
ด้วยอำนาจการข่มอกุศลจิตตุปบาท 4 ดวงที่เหลือไว้ พึงทราบว่า เป็นอัน
พระองค์ตรัสด้วยบทที่ 2. การประกาศเนื้อความในคำว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ
วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ นี้ มีเพียงเท่านี้ก่อน.

[อรรถาธิบายองค์ 5 แห่งปฐมฌาน]


ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงองค์สำหรับละแห่งปฐมฌาน
ด้วยคำมีประมาณเพียงเท่านี้แล้ว คราวนี้ เมื่อจะทรงแสดงองค์ประกอบ จึง
ตรัสคำมีอาทิว่า เป็นไปกับด้วยวิตก เป็นไปกับด้วยวิจาร.
ในพากย์ว่า เป็นไปกับด้วยวิตก เป็นต้นนั้น มิวินิจฉัยดังนี้ : -
ความตรึก ชื่อว่า วิตก, ท่านอธิบายว่า ความดำริ. วิตกนี้นั้น มีความกด

เฉพาะซึ่งจิตในอารมณ์เป็นลักษณะ มีการจดและการจดโดยรอบเป็นรส. จริง
อย่างนั้น พระโยคาวจร ท่านเรียกว่า ทำอารมณ์ให้เป็นธรรมชาติอันวิตกจด
แล้วและจดโดยรอบแล้วด้วยวิตกนั้น. วิตกนั้นมีอันนำมาซึ่งจิตในอารมณ์เป็น
ปัจจุปัฏฐาน. ความตรอง ชื่อว่า วิจาร, ท่านอธิบายว่า การที่จิตท่องเที่ยว
เรื่อยไป. วิจารนี้นั้น มีการเคล้าอารมณ์เป็นลักษณะ มีอันประกอบเนือง ๆ
ซึ่งสหชาตธรรมในอารมณ์นั้นเป็นรส มีการตามผูกพันแห่งจิตเป็นปัจจุปัฏฐาน.
ก็เมื่อความไม่พรากจากกันแห่งวิตกวิจารเหล่านั้นในจิตตุปบาทลาง
ขณะ แม้มีอยู่ วิตก ก็คือการตกไปเฉพาะอารมณ์ครั้งแรกของใจ ดุจเสียง
เคาะระฆัง เพราะหมายความว่าเป็นสภาพที่หยาบ และเพราะความหมายว่า
เป็นสภาพเริ่มก่อน. วิจาร ก็คือการที่จิตตามผูกพันติดต่อ ดุจเสียงครวญของ
ระฆัง เพราะหมายความว่าเป็นสภาพที่ละเอียด. ก็ในวิตกวิจารเหล่านี้ วิตก
มีการแผ่ไป (หรือสั่นสะเทือน) เป็นความไหวตัวของจิต (ในเวลาที่เกิด
ความคิดขึ้นครั้งแรก) ดุจการกระพือปีกของนก ซึ่งต้องการจะบินขึ้นไปใน
อากาศ และดุจการโผลงตรงดอกบัวหลวงของแมลงผึ้ง ซึ่งมีใจจดจ่ออยู่ที่กลิ่น,
วิจารมีความเป็นไปสงบ มิใช่ความไหวตัวอย่างแรงของจิต ดุจการกางปีกของ
นกซึ่งบินไปแล้วในอากาศ และดุจการบินร่อนอยู่ในส่วนเบื้องบนดอกบัวหลวง
ของแมลงผึ้ง ซึ่งโผลงบ่ายหน้าสู่ดอกบัวหลวงฉะนั้น. ส่วนความแปลกกัน
แห่งวิตกวิจารเหล่านั้น จะปรากฏในปฐมฌานและทุติยฌาน.
ฌานนี้ ย่อมเป็นไปกับด้วยวิตกนี้ และด้วยวิจารนี้ ดุจต้นไม้ ย่อม
เป็นไปด้วยดอกและผลฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนี้ ฌานนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เป็นไปกับด้วยวิตก เป็นไปกับด้วยวิจาร. แต่ใน
คัมภีร์วิภังค์ พระองค์ทรงทำเทศนาเป็นบุคลาธิษฐาน โดยนัยเป็นต้นว่า

ภิกษุเป็นผู้เข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว ด้วยวิตกนี้ และด้วยวิจารนี้* ถึง
เนื้อความแม้ในคัมภีร์นั้น ก็พึงเห็นเหมือนอย่างนี้แหละ.
ในบทว่า วิเวกชํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ : - ความสงัด ชื่อว่า วิเวก.
อธิบายว่า ความปราศจากนิวรณ์. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมที่สงัดจากนิวรณ์
ชื่อว่า วิเวก เพราะอรรถว่า สงัดแล้ว, อธิบายว่า กองแห่งธรรมอันสัมปยุต
ด้วยฌาน. ปีติ และสุข เกิดจากวิเวกนั้น หรือเกิดในวิเวกนั้น เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า วิเวกชัง.

[อรรถาธิบายองค์ฌาน คือ ปีติ และสุข]


ในบทว่า ปีติสุขํ มีวินิจฉัยดังนี้ : - ธรรมชาติที่ชื่อว่า ปีติ เพราะ
อรรถว่า ทำให้เอิบอิ่ม. ปีตินั้น มีความปลาบปลื้มเป็นลักษณะ มีความอิ่ม
กายและจิตเป็นรส, อีกอย่างหนึ่ง มีความแผ่ไปเป็นรส มีความเบิกบานใจ
เป็นปัจจุปัฏฐาน. ความสบาย ชื่อว่า ความสุข. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติที่
ชื่อว่า ความสุข เพราะอรรถว่า ย่อมเคี้ยวกิน และขุดเสียด้วยดี ซึ่งอาพาธ
ทางกายและจิต. ความสุขนั้นมีความสำราญเป็นลักษณะ มีอันเข้าไปพอกพูน
ซึ่งธรรมที่สัมปยุตด้วยความสุขนั้นเป็นรส มีความอนุเคราะห์เป็นเครื่องปรากฏ.
ก็เมื่อความไม่พรากจากกันแห่งปีติและสุขเหล่านั้นในจิตตุปบาทลางขณะ
แม้มีอยู่ ปีติ คือ ความยินดีด้วยการได้อิฏฐารมณ์, สุข คือความเสวยรส
แห่งอารมณ์ที่ตนได้แล้ว. ปีติ มีอยู่ใจจิตตุปบาทใด สุข ก็มีอยู่ในจิตตุปบาท
นั้น. สุข มีอยู่ในจิตตุปบาทใด, ในจิตตุปบาทนั้น โดยความนิยม ไม่มีปีติ.
ปีติ ท่านสงเคราะห์เข้าเป็นสังขารขันธ์, สุข ท่านสงเคราะห์เข้าเป็นเวทนา-
ขันธ์, ปีติ เปรียบเหมือนความอิ่มใจ ของบุคคลผู้เหน็ดเหนื่อยในทางกันดาร
* อภิ. วิ. 35 / 347.